วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 9 Design Web Graphics (ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์)

รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ (GIF , JPG และ  PNG)


     *  GIF  ย่อมาจาก  Graphic  Interchange  Format
          - ได้รับความนิยมในยุคแรก
          - มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากกว่า 256 สี
          - มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวนอนของพิกเซล   เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น

     *  JPG  ย่อมาจาก  Joint  Photogtaphic  Experts  Group
          - มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color)  สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
          - ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)
          - ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่าง ละเอียด

     *  PNG  ย่อมาจาก  Portable  Network  Graphic   สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต   มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless) มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma)  และความโปร่งใส (Transparency) ในตัวเอง


ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ

     รูปภาพที่ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์   นั่นก็คือหน่วยพิกเซล   ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกหับองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้าเว็บ   รวมถึงขนาดของหน้าต่างเบราเซอร์ด้วย

ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ

     * ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย pixel per inch (ppi)
     * แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
     * ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว

โปรแกรมกราฟฟิกสำหรับเว็บ

     * ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภททีนำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
          - Adobe   PhotoShop
          - Adobe  ImangeReady
          - Firework    
     * ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ  รูปแบบไฟล์ชุดสีที่ใช้ ,  จำนวนสีระดัความสูญเสียความโปร่งใส และสีพื้นหลัง

คำแนะนำในกระบวนการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ

     * ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ (Web  Palette)
     * เลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม GIF หรือ JPEG
     * ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อย (Slices)

บทที่ 8 Designing Web Colors (เลือกใช้สีเว็บไซต์)

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้   เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี   ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
          - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ   ตั้งแต่รูปภาพ  ตัวอักษร   สีพื้นหลัง   การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
          - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร   บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
          - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
          - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้   เช่น  ข้อมูลใหม่   หรือโปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ    

การผสมสี (Color  Mixing)   มี 2 แบบ
          1. การผสมแบบบวก (Additive  mixing)  จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง   ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ   สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์  ทีวี 
          2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง   แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ    สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน   รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี
          -   ความเป็นระเบียบของสี   ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุล   และความสวยงามในเวลาเดียวกัน
               *การใช้สีที่จืดชืดเกินไป  จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ  และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมได้
               * การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย   ขาดระเบียบ  และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
          -   เป้าหมายในเรื่องสี    คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย      น่าสนใจ
และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)
          1.  ชุดสีร้อน (Warm  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , ฟ้าเงินแกมเขียว  และสีเขียว   โดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบาย   องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพ   เรียบร้อย
          2.  ชุดสีแบบเดียว  (Monochromatic  Color  Scheme)    เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด   คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว   แต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม  อ่อนในระดับต่าง ๆ    และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว   แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวา   เพราะขาดความหลากหลายของสี
          3.  ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ   สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้   แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
          4.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split  Complementary  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น   แต่จะมีผลให้ความสดใส  ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
          5.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double  Split  Complementary  Color  Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน   แต่สีตรงข้ามทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง  2 ด้าน   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น   แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
          6.  ชุดสีเย็น (Cool  Color  Scheme)  เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็น   ให้บรรยากาศคล้ายทะเล  รู้สึกเย็นสบาย
          7.  ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม   ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน   จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
          8.  ชุดสีตรงข้าม (Complementary  Color  Scheme)  คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี   เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน   จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น



บทที่ 7 Dsign for a variety of Web Environments (การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม)

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
     1.   เบราเซอร์ที่ใช้  
          - เบราเซอร์คือโปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ   โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร ,
รูปภาพ   และภาพเคลื่อนไหว
          - มีเบราเซอร์หลายชนิดที่ได้รับความนิยม  เช่น
               * Internet   Explorer
               * Netscape   Navigator
               * The    World
               * Opera
               * Mozilla
               * Firefox
          - การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกร่น
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
               * เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
     2.   ระบบปฏิบัติการ (Operating  System) 
          - ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก   โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของ เบราเซอร์ที่ใช้ได้ , ระดับความละเอียดของหน้าจอ , ชุดสีของระบบ   และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ   เป็นต้น
               * การแสดงผลของ windows จะมีขนาดใหญ่กว่า Mac เล็กน้อย
               * ความสว่างของหน้าจอบน Mac จะมากกว่า Windows และ Unix
     3.   ความละเอียดของหน้าจอ
          - ขนาดของจอมอนิเตอร์มีหลายขนาด เช่น 15",17",21" และอื่น ๆ
          - ความละเอียดของหน้าจอ (monitor resolution) มีหน่วยเป็น Pixel
               * ความละเอียด 640 x 480 หมายถึง หน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน 640 พิกเซล และตามแนวตั้ง 480 พิกเซล
          - ความละเอียดของหน้าจอจะไม่ขึ้นกับบขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้    แต่จะขึ้นกับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ละเอียดแค่ไหน
               * EX: จอขนาด 17"  สามารถตั้งค่าความละเอียดได้ตั้งแต่ 640 x 480 จนถึง 1600x1200 เป็นต้น
    

     4.   จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
          - มอนิเตอร์ที่สามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน   ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ (video card)
          - จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอ (video memory) ทีมากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
          - จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถ แสดงได้นั้น   ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth ซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล
    
          - ชุดสีสำหรับเว็บ (Web Palette) หมายถึงชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac
          - ปัจจุบัน Web Palette มีความสำคัญลดน้อยลง   เนื่องจากจอของผู้ใช้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น   แต่ใน tool ต่าง ๆ เช่น Dreamweaver ก็ยังเห็นชุดสีเหล่านี้ปรากฏอยู่

    
5.   ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้
          - MS  Sans  Serif  VS  Microsoft  Sans  Serif
               * MS   Sans Serif เป็นฟอนต์แบบบิตแมพ (bitmapped  font )  ที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล   โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
               * Microsoft  Sans  font   เป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้น (vector  font)  โดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียว   แต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
          - ตัวอักษรแบบกราฟิก (Graphic  Text)
          ข้อดี
               * สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอน   ทั้งชนิด   ขนาด   สี
               *ผู้ชมทุกคนจะมองเห็นตัวอักษรได้เหมือนกัน  โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอักษรชนิด นั้นติดตั้งไว้ใน เครื่อง
               * สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเว็บได้จากรูปแบบของตัวอักษร
          ข้อเสีย
               * ใช้เวลาในการ download มากกว่า
               * ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
               * ข้อความที่เป็นกราฟิกจะไม่สามารถค้นหาได้ด้วย search engine

ทำไมคนเราต้องรักกัน

ทำไมคนเราต้องรักกัน
...ทำไมคนเราต้องรัก
++ก้อเพราะว่าเราทุกคนล้วนมีหัวใจ

...ทำไมคนเราจึงต้องโหยหาความรักอยู่ตลอดเวลา
++ก้อเพราะเราต้องการใครสักคนมาช่วยเราดูแลหัวใจของเรา

...ทำไมคนเราถึงไม่เคยพอกับความรัก
++ก้อเพราะว่าเราไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะรักใครคนเดียว

...ทำไมคนบางคนถึงไม่เคยพอกับความรักเสียที
++ก้อเพราะว่าเขาไม่เคยเปิดใจตัวเองให้ใคร

...ทำไมคนบางคนถึงไม่ยอมเปิดใจตัวเองให้ใคร
++ก้อเพราะว่าเขาอาจจะกำลังรอใครสักคนอยู่

...ทำไมคนบางคนถึงต้องอกหักอยู่บ่อย ๆ
++ก้อเพราะว่าเขาปล่อยใจตัวเอง ตกหลุมรักอยู่ตลอดเวลา

...ทำไมต้องเสียใจที่เขาไม่รักเรา
++เพราะเราและเขาอาจจะไม่ได้เกิดมาเพื่อรักกัน

...ทำไมคนบางคนถึงไม่เคยสมหวังกับความรัก
++ก้อเพราะว่าเขาจะยังไม่อาจเจอคู่แท้ของเขา

...ทำไมบางคนถึงยังไม่เจอคู่แท้ของเขา
++ก้อเพราะว่าเขาอาจจะยังไม่เคยตามหาเลยก้อได้

...ทำไมต้องเสียใจที่เรายังไม่เจอคนที่เรารัก
++เพราะว่าเมื่อเราเจอเขาคนนั้นเมื่อไหร่ เราจะรู้ว่ามันคุ้มค่ามากแค่ไหน กับเวลาที่เรารอคอย

**จงถนอมหัวใจของเราไว้ให้ดี**
เพราะว่าเมื่อเราเจอคนที่ใช่ จะได้มอบให้เค้าด้วยความภูมิใจ

เพราะรักยังคงอยู่

ที่เราต้องเจ็บปวดกับความรักน่ะ
ไม่ใช่เพราะมันจากไปหรอก
... แต่เพราะมันยังคงอยู่ต่างหาก

ถ้าวันนี้คนสองคน ต่างหมดรักกันไป
คงไม่มีใครต้องเสียใจมากนัก
แต่กลับเป็นเพราะรักที่ยังอยู่ในใจคุณนั่นเอง
ที่ทำให้คุณปล่อยวางลงไม่ได้

ธรรมชาติของรัก มักไม่ให้โทษแก่ใคร
เพียงแต่อาจปรุงแต่งให้หัวใจพองฟูจนลืมนึกถึงความจริงที่ว่า
มีวันที่รักมา ก็อาจมีวันที่รักไปได้
ความรักเป็นสิ่งสวยงาม
หลายคนจึงอดหลงใหลได้ปลื้มกับมันไม่ได้ในยามที่มันอยู่
เรามักหลอกตัวเองว่า เพราะเรารักเขามาก
เขาคงเห็นความดีความตั้งใจของเรา
และรักเราตอบบ้าง ไม่มากก็น้อย

และเมื่อเขาตอบรับรักของเรา
ความฟูของหัวใจ
มักทำให้เราก้าวล่วงไปถึงการรู้สึกยึดมั่น
ว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของเรา
เป็นเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวทางใจอย่างหนึ่ง
ที่จะต้องอยู่กับเราทุกครั้งที่เราต้องการ
นานเท่าที่เราปรารถนา


ความรู้สึกอันนี้แหละ คือจุดเริ่มของความเจ็บปวดทั้งมวล
เพราะมันฝืนกฏธรรมชาติ
ไม่ได้บอกว่า ... รักต้องลงเอยด้วยความเศร้าเสมอไป
เพียงแต่ถ้าเขาจะอยู่ เขาจะไป
จะรักคุณมากขึ้น คงเดิม หรือหดน้อยถอยลง
ก็จะเป็นเพราะคนสองคน ไม่ใช่ความต้องการของเราฝ่ายเดียว
หรือเขาฝ่ายเดียว

ชีวิตเป็นเรื่องซับซ้อนเข้าใจยาก ... แต่ในความซับซ้อนนั้น
มันก็เรียบง่ายอย่างที่เรานึกไม่ถึง
เพราะไม่ว่าสิ่งไหน เรื่องอะไรสารพัดสารพัน
ทุกอย่างล้วนแต่อยู่ในกฏเดียวกัน
มันจะ เกิดขึ้น ... ตั้งอยู่ ... แปรสภาพ แล้วก็จบลง

รักที่สมหวังอยู่กันจนแก่เฒ่า ก็หนีไม่พ้นกฏข้อนี้
เพราะวันนึง ไม่เราก็เขาก็ต้องตายจากกัน
สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า ... วันนี้เขาอยู่หรือจากไป

สำคัญที่ว่า ... ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี ... ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้
ถึงวันนี้จะยังร้องไห้
ก็คงไม่กระไร เพราะชีวิตก็เป็นแบบนี้
มีวันที่เลวร้าย มีวันที่สวยงาม มีวันที่ว่างเปล่า
สุขก็อยู่กับเราไม่นาน ทุกข์ก็อยู่กับเราไม่นาน
สุขเคยแวะผ่านมาแล้วก็ไป
ทุกข์ก็เป็นเฉกเช่นกัน
ร้องไห้แล้วก็อย่าร้องเปล่า ๆ
มองให้เข้าใจสัจธรรมของชีวิตไปด้วย

ได้แต่อวยพรให้คุณเข้าใจชีวิตมากขึ้น
เติบโตขึ้น เข้มแข็งขึ้น แต่อย่าแข็งกร้าว
ขอให้อ่อนโยนแต่เข้มแข็ง
และขอให้วันใหม่ในชีวิตมาถึงในอรุณรุ่งของวันพรุ่งนี้

เรื่องของเรื่อง

วันที่ยุ่งวุ่นวาย


                      เพราะเป็นที่ตื่นเช้ามากๆ แล้วเกือบจะตื่นไม่ทัน แต่ก็ทันเพราะว่าเปงวันที่สำคัญวันหนึ่งซึ่งเป็นวันมหิดลแล้วได้มีกิจกรรมต่างๆ ตอนเช้าได้มีกิจกรรมตักบาตร  ทั้งได้บุญและมีกิจกรรมมากมายให้เราได้เข้าไปทำแต่ก้อเป็นวันที่เหนื่อยวันหนึ่ง  เหนื่อยแต่ก็สนุกค่ะ  และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ต้องรีบเร่งทำงานด้วยอิอิ


                                                                                                             24/10/2010

My Heart















วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

Cake bakery














About Me







เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์


เทคนิคในการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์
1. การเลือกเนื้อหาเว็บเพจ การเลือกเนื้อหา ถือเป็นส่วนสำคัญใน การเริ่มต้นทำเว็บเพจ ทั้งการจัดโครงสร้าง และ ความนิยมของเว็บเพจ แน่นอนว่า ถ้าผู้จัดทำ มีเนื้อหาอยู่แล้ว เช่น เว็บเพจขององค์กร, เว็บเพจของเกมส์, เว็บเพจดารา เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่ง สำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเลือกหัวข้อใด ควรเริ่มต้นจาก การสำรวจตัวเองว่า ชอบ หรือ สนใจสิ่งใด มากที่สุด หรือ มีความรู้ ด้านใด มากที่สุด หรือ เชี่ยวชาญด้านใด มากที่สุด แล้วพยายาม เลือกสิ่งนั้นในเป็นเนื้อหา เพราะระหว่างทำเว็บเพจนี้ จะได้เกิดความสนุก และ จะได้ความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย


2. โครงสร้างของเว็บเพจ การจัดโครงสร้างนี้ มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การที่จะทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม สามารถค้นหาข้อมูล ในเว็บเพจได้อย่างเป็นระบบ ประการแรกต้องพิจารณาถึง ความเป็นไปได้ของ ประเภทของผู้เข้าเยี่ยมชม เพราะ ผู้เยี่ยมชมแต่ละประเภท ก็จะค้นหาข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้น โครงสร้างของเว็บเพจ ก็ควรจะจัดตาม ความต้องการที่แตกต่าง ของผู้เข้าเยี่ยมชม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นเว็บเพจ ของบริษัท ก ผู้ที่เข้าเยี่ยมชม ไม่ว่าจะตั้งใจมาหาข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท ก หรือ อาจจะบังเอิญเข้ามา ในความเห็นของผู้เขียน ควรจะแบ่งประเภท ของผู้เข้าเยี่ยมชม ว่าเป็น ลูกค้าของบริษัท รวมถึง ลูกค้าในอนาคต ของบริษัทด้วย, เจ้าหนี้ของบริษัท, คู่แข่งของบริษัท, พนักงานของบริษัท, ผู้ถือหุ้น, บุคคลทั่วไป หรือ ผู้เข้าเยี่ยมชมประเภทอื่นๆ ดังนี้จะเห็นความแตกต่าง ทางข้อมูล ที่จะต้องเตรียม ให้กับผู้เข้าเยี่ยมชม ซึ่งแตกต่างๆ กันอย่างมาก จะเห็นได้ว่า ความต้องการของ ผู้เข้าเยี่ยมชมที่เกิดขึ้นนี้ มีความหลากหลายมาก สิ่งที่จะต้องปฏิบัติต่อไปก็คือ การจัดกลุ่มของข้อมูล ที่กระจัดกระจายเหล่านี้ ให้รวม หัวข้อย่อยต่างๆ ให้อยู่ในหัวข้อหลัก โดยมีจุดมุ่งหมายให้ จำนวนข้อหลักน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น หัวข้อย่อยบางหัวข้อ อาจต้องตัดทิ้งเพื่อความเหมาะสม นอกจากนี้การจัดไฟล์ และ ไดเร็กทอรี่ ก็จะช่วยให้การดูแลรักษา และการตรวจสอบ ความผิดพลาด ของเว็บเพจ ง่ายยิ่งขึ้น เช่นการจัดไฟล์รูปภาพ ไว้ที่เดียวกัน หรือ จัดเว็บเพจที่เป็น เรื่องเดียวกันไว้ในไดเร็กทอรี่ เดียวกัน เป็นต้น


3. ทุกคนดูได้และดูดี การทำเว็บเพจ ควรจะทำเพื่อให้สามารถดูได้จากทุกๆ Version ของ Software ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netscape Communicator, Internet Explorer หรือ อื่นๆ การทำให้ทุกคนดูได้นี้ ถือว่าเป็นการขยายฐานของผู้เข้าเยี่ยมชม เพราะถ้าสามารถดูได้จากเพียง Software บางตัว ก็จะเป็นการลด จำนวนผู้เข้าชม ลงไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น สีที่ใช้, รูปภาพ, frames, style sheets, cookie, java, javascript และ plug-ins ที่อาจทำให้ ผู้เข้าชม บางคน เห็น เว็บเพจแตกต่างไป กรุณาอ่าน รายละเอียดเพิ่มเติมได้ จาก http://www.anybrowser.org นอกจากจะดูได้แล้ว ควรจะดูดีอีกด้วย เพราะมีความเป็นไปได้ที่ เว็บเพจที่ออกมาอาจ แสดงไม่เหมือนกัน บน Browser ที่ต่างกัน รวมถึง การใช้ Version ที่ต่างกันด้วย การทำเว็บเพจนี้ ควรให้แน่ใจว่า ทุกคนดูได้และดูดี อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนของ ประเภท Browser และ version ที่ผู้เข้าเยี่ยมชม ไม่เป็นที่แน่นอน แต่ถ้าส่วนใหญ่แล้ว น่าจะเป็น Netscape Communicator และ Internet Explorer เพราะฉะนั้น การตรวจสอบผ่านสอง Browser นี้เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ส่วน version ที่ใช้ ก็ใช้ version ปานกลาง ไม่เก่าจนเกินไป หรือ ใหม่จนเกินไป (ถ้าเป็นไปได้ ควรตรวจสอบจาก ทุกๆ Browser และ ทุกๆ version เท่าที่จะหาได้)


4. ความเร็วในการโหลดเว็บเพจ สิ่งที่ควรคำนึงใน การทำเว็บเพจอีกสิ่งหนึ่ง คือ ความเร็วใน การโหลดเว็บเพจ ผู้เข้าชมไม่ควรใช้ เวลานานเกินสมควร ในการรอ ให้โหลดเว็บเพจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหน้าแรก ของการโหลด เพราะมีหลายครั้งที่ ผู้เข้าเยี่ยมชมจะหยุด การโหลดเว็บเพจ และ เปลี่ยนไปหาข้อมูลจากที่อื่น ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง ของผู้ทำเว็บเพจ ปัจจัยที่จะกระทบต่อความเร็ว ได้แก่ ขนาดของรูปภาพที่ใช้, จำนวนของรูปภาพที่ใช้ และ ปริมาณของตัวอักษร ที่อยู่บนหน้านั้นๆ อนึ่งความเร็วใน การโหลดเว็บเพจ อาจอยู่ที่ Server ที่เว็บเพจนั้นๆอยู่ ว่ามีความสามารถ สูงเพียงใดด้วย ขนาดของรูปภาพที่ใช้ ควรจะมีขนาดไม่เกิน 20-30K ต่อรูป ส่วนประเภทของรูปนั้น ควรเป็น GIF หรือ JPEG ถ้าขนาดของรูปภาพใหญ่เกินไป อาจตัดแบ่ง ให้ขนาดเล็กลง และใช้ ตาราง ช่วยในการจัดรูปภาพนั้นๆ แต่ก็ไม่ควรมี จำนวนมากเกินไป เพราะนั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ ลดความเร็วของ การโหลดเว็บเพจ ใน ระบบ cache ที่มีในบาง browser จะทำการเก็บรูปภาพ ที่เคยโหลดแล้ว ไว้ในเครื่อง เพื่อเพิ่มความเร็ว เราสามารถ ใช้ประโยชน์จาก cache นี้ โดยการใช้รูปเดิม ให้มากขึ้น ถ้าไม่จำเป็น ควรใช้รูปเดิมให้มากที่สุด การที่เว็บเพจหน้านั้นๆ มีจำนวนตัวอักษรมาก ก็จะลดความเร็ว ในการโหลดเช่นกัน ดังนั้น ถ้ามีเนื้อหามากๆ ควรจะตัดแบ่ง ออกเป็นตอนๆ เพื่อช่วยเพิ่ม ความเร็วในการโหลด และยังเป็นการให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม อ่านง่ายยิ่งขึ้นด้วย


5. ความง่ายในการค้นหาข้อมูล ความอดทนของ ผู้เข้าเยี่ยมชมมีความแตกต่างกันไป หากใช้เวลา พอสมควรแล้ว ยังไม่สามารถ หาข้อมูลจากเว็บเพจ ก็อาจจะเปลี่ยนไปหาที่อื่นได้ สิ่งนี้คงไม่เป็น การดีต่อเว็บเพจ อย่างแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม สามารถค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ ในเว็บเพจได้ง่าย และ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด แน่นอนว่าปัจจัยหลัก ต้องขึ้นอยู่กับ โครงสร้างของเว็บเพจ ตั้งแต่ตอนแรกที่มีการจัดโครงสร้าง และ จัดกลุ่มของข้อมูล ดังที่ได้กล่าวในข้างต้น

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกเช่น การมี Navigator bar หรือ แถบนำทาง ในทุกๆหน้าของเว็บเพจ ( เว็บเพจไทย ส่วนใหญ่ใช้ frames เพื่อช่วยในการนำทาง ผู้เขียนไม่ขอแนะนำ ให้ใช้ frames เพราะ ผลที่ออกทางจอภาพ อาจไม่เป็นอย่าง ที่เราต้องการ ) และ ถ้าสามารถให้บริการ Search และ Sitemap ได้ก็จะเป็น สิ่งที่จะช่วยให้ ค้นหาข้อมูล ได้ง่ายยิ่งขึ้น


6. ตัวอักษร, ฉากหลัง และ สี คงจะมีหลายครั้ง ที่ผู้เข้าเยี่ยมชม จะต้องประสบกับ ความคิดสร้างสรรค์ ของผู้จัดทำ โดยการใช้สี บนตัวอักษร หรือ บนฉากหลัง รวมถึงการใช้ รูปเป็นฉากหลัง เหล่านี้ อาจทำให้ เกิดปัญหากับ ระบบประสาทตา ของผู้เข้าเยี่ยมชมได้ สีของตัวอักษร และ ฉากหลัง ที่ผู้เขียนแนะนำคือ ตัวอักษรสีดำ บนฉากหลังขาว ถ้าต้องการกำหนด ประเภทของตัวอักษร ควรใช้ที่เป็นสากลนิยม เช่น ในกรณีภาษาอังกฤษ อาจใช้ Arial หรือ Times เป็นต้น ส่วนภาษาไทย อาจใช้ MS Sans Serif หรือ ตัวอักษร UPC อื่นๆ น่าจะถือเป็น สากลนิยมของภาษาไทย การเลือกใช้ ตัวอักษรภาษาไทยนั้น ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะ ในกรณีที่ เครื่องผู้เยี่ยมชม ไม่มีตัวอักษรนั้นๆ อาจทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชม ไม่สามารถอ่าน ตัวอักษรได้เลย ฉากหลังที่ใช้นั้น ผู้เขียนไม่ขอแนะนำให้ ฉากหลังเด่นเกินตัวอักษร ที่อยู่บนเว็บเพจ เพราะจะทำให้อ่านยาก และ ทำให้เนื้อหา ไม่น่าสนใจ อย่างไรก็ตาม การใช้ฉากหลังสีพื้น อาจทำให้ดูน่าเบื่อ หลายครั้งที่ ผู้เขียนแนะนำไปยัง webmaster แต่คำตอบที่ได้คือ "ไม่เปลี่ยน เพราะของเดิมสวยดีอยู่แล้ว" ดังนี้คงต้อง ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ ของแต่ละบุคคล ในกรณีที่ เว็บเพจมีรายละเอียดมาก จำนวนตัวอักษร ในแต่ละบรรทัด อาจช่วยให้ผู้เข้าเยี่ยมชม อ่านรายละเอียดได้ง่ายขึ้น สามารถทำได้โดยใช้ ตารางแบ่งเป็น 2-3 แถว แต่ก็ไม่ควรบรรทัดสั้นเกินไป เพราะ จะทำให้อ่านแล้วไม่ได้ใจความ


7. รูปภาพ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น รูปภาพบนเว็บเพจนี้ มีใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ GIF หรือ JPEG หนึ่งในหลักการพิจารณา การใช้ประเภทเพื่อ ประสิทธิภาพสูงสุด คือ จำนวนสีของ รูปภาพนั้นๆ ถ้าเป็นภาพแต่ง หรือ ภาพถ่ายที่มีสีมากๆ ก็ควรใช้ ไฟล์ประเภท JPEG แต่ถ้าเป็นเพียง ปุ่ม หรือ ป้าย ที่มีสีไม่มาก ก็ควรใช้ GIF ในบางครั้ง การมองด้วยตาเปล่า แทบจะไม่ สามารถบอกได้ถึง ความแตกต่างเลยทีเดียว ถ้าเป็นไปได้ ควรจะทดสอบด้วยตนเอง โดยการ เปรียบเทียบ ไฟล์ทั้งสอง ประเภท และใช้ ประเภทของไฟล์ที่พอใจ พร้อมกับพิจารณาเรื่อง ขนาดของไฟล์ด้วย อนึ่ง ควรจะมีการคะเนขนาด ของรูปภาพที่ จะใส่บนเว็บเพจก่อน เพื่อจะได้ใช้ขนาด และ อัตราส่วน ที่พึงพอใจ มากที่สุด Software ที่จะช่วยลดขนาดของ files ทั้ง GIF และ JPEG (รวมถึง GIF Animation ด้วย) คือ Ulead WebRazor ซึ่งสามารถหา ได้จาก http://www.ulead.com สิ่งหนึ่งที่ผู้จัดทำเว็บเพจ มักมองข้ามก็คือ ความเร็วของ การโหลดรูปภาพ ซึ่งปัจจัยหลัก อยู่กับความเร็วของอุปกรณ์ ของผู้เข้าเยี่ยมชม การทดสอบจาก เครื่องของผู้จัดทำเว็บเพจ หรือ การทดสอบผ่านระบบ LAN ไม่สามารถนำมาวัดได้ ควรจะต้องมี การทดสอบจาก Server โดยผ่าน Modem ด้วย มีหลายสาเหตุ ที่ทำให้รูปภาพ มีขนาดใหญ่ เกินความจำเป็น เช่น การใช้ anti-aliased ในการพิมพ์ตัวอักษร, การใช้ gradient tool ในการไล่สี เป็นต้น เหล่านี้ทำให้ ภาพดูดีขึ้น เช่น anti-aliased ทำให้ตัวอักษรดูมีมิติ และสบายตา ส่วน gradient tool อาจทำให้ภาพดูสวยขึ้น แต่ทั้งสองวิธีนี้ ทำให้ไฟล์ มีขนาดใหญ่เกินไป และในบางครั้ง ผลที่ออกมา จากบางจอภาพ ทั้งตัวอักษร และ gradient tool อาจไม่ตรงกับที่ต้องการ สำหรับเว็บเพจที่เป็น Gallary รูปภาพ ควรจะมี การทำรูปเล็กๆ เพื่อเชื่อมต่อ ไปยัง รูปใหญ่ หรือ เรียกว่า Thumb สาเหตุที่ ควรทำเช่นนี้ นอกจาก ทำให้โหลดรูปภาพ ได้เร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้ ผู้เข้าเยี่ยมชมได้ เห็นคร่าวๆ ว่ารูปภาพเป็นอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ ควรให้รายละเอียด ของขนาดของไฟล์ และขนาดของรูปภาพ นั้นๆ ด้วย


8. ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของเว็บเพจ ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้? หลายครั้งที่ผู้เขียนถูกโต้แย้งว่า "ขาดแล้วก็ไม่เห็นเป็นไร" ซึ่งก็ถูกต้องตามนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การพิจารณานี้ ขึ้นอยู่กับ ตัวผู้จัดทำเองว่า จะเห็น สิ่งต่อไปนี้เป็น ส่วนประกอบ ที่ขาดไม่ได้ จริงหรือไม่ เช่น หัวข้อที่เกี่ยวกับ ตัวบริษัท, ผู้จัดทำ อาจเป็น ประวัติความเป็นมา และ/หรือ ข้อมูลปัจจุบัน (About us) เหล่านี้ช่วยเพิ่ม ความน่าเชื่อถือให้กับ ผู้เข้าเยี่ยมชม ต่อบริษัท, ผู้จัดทำ ดังที่ได้อธิบายข้างต้น เกี่ยวกับ แถบนำทาง, Search, Sitemap เหล่านี้คือ อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ เพื่อช่วยให้ ผู้เยี่ยมชม ค้นหาข้อมูลในเว็บเพจได้ง่าย และ สะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจาก เว็บเพจ เป็นสื่อ ที่สามารถโต้ตอบกันได้ ซึ่งแตกต่างจากสื่อเดิมๆ เช่น หนังสือพิมพ์, ทีวี หรือ วิทยุ ดังนี้ วิธีที่จะติดต่อบริษัท, ผู้จัดทำ ไม่ว่าจะเป็น ทาง จดหมาย, โทรศัพท์, Fax หรือ email (Contact us) เมื่อผู้เข้าเยี่ยมชม มีปัญหา หรือ ต้องการข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม ก็จะสามารถติดต่อเพื่อ จะได้ ข้อมูลที่สมบูรณ์ มากที่สุด ยังมีหัวข้ออื่นๆ อีก เช่น ข้อเสนอแนะ (Feedback), คำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ - Frequently Asked Questions), เว็บเพจที่น่าสนใจอื่นๆ เป็นต้น หัวข้อต่างๆนี้ ช่วยลดเวลา ในการหาข้อมูล ของ ผู้เข้าเยี่ยมชม


9. ก่อนที่เว็บเพจจะ publish ก่อนที่จะนำเว็บเพจ upload ไปยัง server ควรจะมีการทดสอบ โดยใช้ทั้ง Netscape Communicator และ Internet Explorer (ส่วน version ที่ใช้ ควรใช้ version ที่ไม่ใหม่จนเกินไป และ ไม่เก่าจนเกินไป) ว่า ความเร็วในการโหลด ช้าหรือเร็วเพียงใด, link ทั้งภายใน และ ภายนอก ถูกต้องหรือไม่, รูปภาพ ถูกต้องหรือไม่, พิสูจน์อักษร และ อ่านข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลต่างๆ ถูกต้อง ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบ ด้วย resolution ต่างๆกันด้วย เช่น 600x480 pixels และ 800x600 pixels เป็นต้น และ บน คุณภาพที่แตกต่าง ของจอภาพ เช่น 256 สี, 16bit และ 24 bit (Software ฟรี ที่สามารถเปลี่ยน สี และ resolution ได้คือ MS QuickRes หนึ่งใน Powertoy ซึ่ง download ได้จาก http://www.microsoft.com) หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ทดสอบให้มากที่สุด เท่าที่ผู้จัดทำ สามารถหาเครื่องได้ เพื่อป้องกัน การผิดพลาดที่ อาจจะเกิดขึ้น


10. หลังจากที่เว็บเพจ publish ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบ เหมือนกับที่ ทดสอบก่อนที่จะ publish เพื่อความแน่ใจอีกครั้ง แน่นอนว่า ถ้าเป็น เว็บเพจส่วนตัว ก็คงไม่ต้องมี การทดสอบ มากถึงขนาดนี้ หรือ ถ้าสามารถทำได้ ก็ควรจะทำการทดสอบ แต่ถ้าเป็น เว็บเพจ ของบริษัท การทดสอบทั้งก่อน และ หลัง เป็นสิ่งสำคัญ และ ควรกระทำ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากการทดสอบแล้ว สิ่งที่จะต้องกระทำหลัง publish คือ การสำรวจ, ปรับปรุง และ ดูแลรักษา เว็บเพจ เมื่อพบความคิดดีๆ ที่อาจนำมา ปรับปรุงเว็บเพจได้ ก็ควรจะจดบันทึกไว้ ถ้าเป็นการแก้ไขนิดหน่อย ก็ควรทำการแก้ไขทันที แต่ถ้าเป็นการแก้ไขที่ ต้องใช้เวลานาน ควรรอสักระยะ รวบรวมสิ่งที่ ต้องการแก้ไขทั้งหมด แล้วจึงดำเนินการแก้ไข Feedback ต่างๆ จากผู้เข้าเยี่ยมชม เป็นสิ่งสำคัญที่ ต้องนำมาพิจารณา รวมถึง คำถาม และคำแนะนำต่างๆ จากผู้เข้าเยี่ยมชม ถ้าสามารถตอบ หรือ กล่าวขอบคุณ ต่อคำถาม และ คำแนะนำได้ ก็จะเป็นสิ่งที่ ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ถ้าเป็นข้อผิดพลาดที่ ผู้เข้าเยี่ยมชมแจ้งมา แน่นอนว่าควรแก้ไขทันที และ ส่งคำขอบคุณไปยังผู้เข้าเยี่ยมชม

10 เทคนิคการออกแบบเว็บให้ Google รู้จัก

10 เทคนิคการออกแบบเว็บให้ Google รู้จัก
จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี
ตอนนี้ผมเชื่อว่าคนไทยมากกว่า 90% ที่ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะใช้ เสริช์เอนจิ้น (Search Engine)ในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จากอินเทอร์เน็ต และจากข้อมูลของ Truehits.net พบกว่า คนไทยเกินกว่า 90% ใช้ Search Engine ของ Google.com (และจากการสำรวจของผม ทุกครั้งที่มีโอกาสไปสอนและสอบถามกับคนที่เรียน พบกว่าข้อมูลเป็นไปตาม Truehits.net) จากข้อมูลที่บอกมา ทำให้เห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่จะหาเว็บไซต์ที่เค้าต้องการหา จาก Google ค่อนข้างมาก ซึ่งหากคุณ "สามารถทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถติดอันดับต้นในการค้นหา ของ Search Engine" ได้ นั้นหมายถึงการที่คนที่เป็นลูกค้าคุณจะสามารถรู้ และเข้าไปยังเว็บไซต์คุณได้
ดังนั้นการทำการตลาดผ่าน Search Engine ถือเป็นวิธีและช่องทางที่ เจ้าของเว็บไซต์ "ทุกคน" ควรทราบและนำไปปฏิบัติกับเว็บไซต์ของคุณ โดยวันนี้ผมจะมาทิปและเทคนิคง่าย ๆ ในการทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าไปอยู่ในอันดับของ Search Engine โดยเราเรียกวิธีการทำแบบนี้ว่า Search Engine Optimization หรือ เรียกสั้นๆ ว่า SEO และทิปและเทคนิคนี้จะเน้นกับเว็ไซต์ Google.com ซะส่วนใหญ่นะครับ

เทคนิคการทำให้เว็บไซต์ติดใน Searh Engine ..................................................
1. ใส่ Keyword ใน Title ของหน้าเว็บ การใส่ Key Word ในหน้าเว็บไซต์ในส่วนของแท็ก จะช่วยทำให้ Search Engine รู้ว่าเว็บไซต์หน้านั้นๆ ของคุณ มีข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ซึ่งข้อมูลนี้จะแสดงอยู่ในตำแหน่งบนด้านบนสุดของบราวเซอร์ ซึ่งตำแหน่งนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่ง

2.
การใส่ Key Word ที่ต้องการในส่วนด้านบนของเว็บไซต์และการเน้นด้วยตัวหนา การเน้น Key Word ที่ต้องการในหน้าเว็บไซต์ด้านบน และมีการเน้น key word ภายในหน้าเว็บไซต์ด้วย ตัวหน้า หรือการใช้แท็ก จะเป็นการเน้นให้ Search Engine รู้ว่า นี้คือคำที่เราต้องการเน้นและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ซึ่ง Search Engine จะให้ความสำคัญและน้ำหนักกับ Key Word เหล่านี้

3.
หลีกเลี่ยงการออกแบบเว็บไซต์ด้วย Flash หรือรูปภาพเยอะ ไม่มีตัวหนังสือ เพราะ Google จะอ่านจากโค๊ดของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งหากเว็บไซต์คุณ มีแต่ภาพ และยิ่งเป็น Flash ด้วยแล้วละก็ Google จะไม่รู้จักเว็บไซต์คุณเลยว่าเกี่ยวกับอะไร คุณควรปรับเปลี่ยนเพิ่ม ตัวหนังสือเข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้ Google ได้รู้จักเว็บไซต์อของคุณ

4.
หลีกเลี่ยงใช้ออกแบบเว็บไซต์ด้วยเฟรม เพราะการออกแบบเว็บไซต์ด้วย เฟรม จะทำให้ Search Engine จะไม่สามารถทราบได้ถึงข้อมูลที่มีอยู่ในเนื้อหาในหน้านั้นๆ เพราะเนื้อหาในหน้านั้น ๆได้ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยการใช้เฟรม ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงซะ (การใช้เฟรม คือ การออกแบบหน้าเว็บที่มีหน้าเว็บหลาย ๆส่วนประกอบเข้าด้วยกันในหน้าเดียว)

5.
การเขียนเว็บด้วยภาษาง่าย ๆ ไม่ใช่โค๊ดที่สลับสับซ้อน การออกแบบเว็บไซต์ โดยมี code ที่สั้นและกระชับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์คุณง่ายต่อการค้นหาของ Search Engine อย่าใช้ code ฟุ่มเฟือยจนเกินไป ไม่ใช้ table มากเกินไป ลดการใช้ JavaScript และ CSS เท่าที่จำเป็นเท่านั้น นอกจากนี้ คำค้นหาสำคัญๆ ควรอยู่ส่วนบนๆของเว็บเพจให้มากที่สุด

6.
ควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพ และใส่คำอธิบายให้กับภาพ คุณควรตั้งชื่อไฟล์รูปภาพที่ตรงกับ Keyword ที่คุณต้องการ และควรใส่คำอธิบายภาพ โดยใช้แท็ก คำอธิบาย เพื่อทำให้ Search Engine รู้ว่าภาพที่คุณใส่เข้าไปในเว็บไซต์คุณคือภาพอะไร และเกี่ยวกับอะไร ซึ่งจะมีผลต่อการค้นหาของ Search Engine ด้วย

7.
ใส่ คีย์เวริด์ ให้หนาแน่น ภายในหน้าเว็บไซต์ การที่ในหน้าเว็บไซต์ของคุณมี Key Word ที่ซ้ำๆ หลายๆ คำในหน้านั้นๆ (Key Word Density) นั่นหมายถึงหน้าๆ นั้นของคุณมีข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับคำๆนั้น ซึ่ง Search Engine ให้ความสำคัญกับส่วนนี้ เช่นกัน ซึ่งควรจะมีการซ้ำๆ กันของ Key Word ในหนึ่งหน้าเว็บ ไม่ควรเกิน 20% ซึ่งหากใส่มากเกินไปจะกลายเป็นการ Key Word Spamming ซึ่งอาจจะทำให้เว็บไซต์คุณโดนบล็อกไปเลย

8.
ขนาดไฟล์ HTML ของหน้าเว็บไซต์ไม่ควรเกิน 32K ถ้าหน้าเว็บไซต์ของคุณ มีขนาดใหญ่จนเกินไป จะทำให้ Search Engine ไม่สามารถเก็บข้อมูลของหน้าเว็บไซต์คุณได้ ดังนั้นในการออกแบบ ควรไม่ให้มีขนาดไฟล์ HTML ไม่เกิน 32K

9.
แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ การแลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ และมีเว็บไซต์อื่นๆ ลิงค์มาหาคุณเยอะๆ เป็นการแสดงว่า เว็บไซต์คุณเป็นที่รู้จักจาก ซึ่ง Google จะให้คะแนนของเว็บไซต์คุณ โดยเป็นค่า Page Rank (PR)โดยจะมีการให้คะแนนเอาไว้มีค่าตั้งแต่ 1-10 คะแนน โดยเว็ปเพจใดที่ google เห็นว่าเป็นเว็ปเพจที่ สำคัญ ซึ่งหากเว็บไซต์คุณมีค่า Page Rank สูงก็จะมีผลต่ออันดับในการแสดงใน google โดยเราสามารถทราบค่า PR ของเว็บไซต์เราได้ โดย download และ install google toolbar (http://toolbar.google.com) หลังจากนั้นคุณจะสามารถดูคะแนน PR ของคุณที่จัดโดย google ได้

10.
ทำ Site Map ให้กับเว็บไซต์ของคุณ Site Map ก็คือแผนที่เว็ปไซด์ของคุณ ว่าเว็ปไซด์คุณมีหน้าเว็ปต่างๆ อยู่ที่ไหนบ้าง หน้าไหน link ไปสู่หน้าไหน เป็นการรองรับให้ทุกๆ หน้าของเว็ปไซด์คุณถูกเข้าถึงได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ Google สามารถทราบได้ว่าในเว็บไซต์ของคุณมีหน้าเว็บอะไรบ้างทั้งหมด